วัด ดังเชียงใหม่บูรณะบานประตูโบราณ ลบลวดลายทิ้งเกลี้ยง อาจารย์ มช. ชี้แค่ทำความสะอาดก็พอแล้ว
นักศึกษาคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โพสต์ภาพบานประตูโบราณอายุร้อยกว่าปี ภายในวิหารวัดหมื่นล้าน ประตูท่าแพชั้นในเมืองเชียงใหม่ ถูกบูรณะด้วยการลบทิ้งลวดลายจดหมดสิ้น แม้จะคัดลอกลายเพื่อเขียนขึ้นใหม่ในแบบฉบับเดิม แต่ก็ถูกตั้งคำถามถึงการบูรณะในลักษณะนี้ ซึ่งทำให้คุณค่าทางประวัติศาสตร์สูญหายไป
โดยระบุว่า “เมื่อวันก่อนเข้าไปเยี่ยมชมการบูรณะพระวิหารวัดหมื่นล้าน ประตูท่าแพชั้นในเมืองเชียงใหม่ บานประตูนี้เป็นบานประตูที่ทำด้วยเทคนิคการทำลายรดน้ำ (เป็นหนึ่งในไม่กี่บานที่มีขนาดใหญ่และเป็นบานของวิหารหลักของวัดในเชียงใหม่ที่ยังเหลือ)”
ตรงที่ประตูมีการจารึกเป็นตัวธรรมล้านนาว่า “พระพุทธศักราช ๒๔๖๐ แล จุลศักราช ๑๒๗๙ เดือน ๗ ขึ้น ๑๕ ค่ำ วัน ๔ ได้สลางหน้ามุกวิหารหนังนี้ นิพพานปจฺจโยโหตุโนนิจจํ”
จากจารึกแล้วบานนี้ได้เขียนสร้างถวายพร้อมมุกหน้าพระวิหาร (ต่อเติมจากหลังเดิม) ในสมัยรัชกาลที่ 6 เป็นบานประตูที่มีอายุไล่เลี่ยกันมาตลอดกับวันในเชียงใหม่หลายที่ แต่ในปัจจุบันเนื้องานโบราณได้รับการบูรณะด้วยการทำพื้นงานใหม่ทับลงไปบนงานโบราณ โดยได้รับข้อมูลมาว่าได้คัดลอกลายและจะเขียนขึ้นใหม่ในแบบฉบับเดิม
บทเรียนครั้งนี้เราทุกท่านขออย่ามองข้าม เพราะต่อไปอาจมีแบบนี้เกิดขึ้นอีกที่ไหนก็ได้ขอท่านทั้งหลายมองเป็นบทเรียน “การปล่อยให้สิ่งที่ไม่ถูกต้องเกิดขึ้นโดยไม่ทำอะไรเลยเท่ากับการสนับสนุนสิ่งนั้น” จะเสียดายก็แต่ว่างานโบราณนั้นไม่ได้ถูกการรักษาเนื้องานชั้นครูและเรื่องราวผ่านกาลเวลาเอาไว้ ประตูบานนี้คงอยู่ในมโนสำนึกสืบไป”
ต่อมาผู้ใช้เฟซบุ๊ก Momosang Kung ของ ผศ.สุรชัย จงจิตงาม อาจารย์ประจำสาขาวิชาศิลปะไทย ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้มาคอมเมนต์ว่า
“ประตูลายรดน้ำที่วัดหมื่นล้านอายุตามจารึกก็ร้อยกว่าปี ถือว่าเก่าแก่มาก แม้ว่าสภาพจะซีดจางตามกาลเวลา แต่ลวดลายก็ยังชัดเจนอยู่มาก เนื้อไม้ก็ยังดีอยู่ ปัญหา คือ สภาพก่อนโดนลบมันยับเยินเสียหายหนักจนกระทั่งถึงกับต้องเขียนใหม่เลยหรือ